X

ดีเอชเอ DHA และ การทำงานของ สมอง

ดีเอชเอ DHA และ การทำงานของ สมอง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ดีเอชเอและการทำงานของสมอง

น้ำมันปลา ประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็น ประเภทโอเมก้า 3 อยู่ในปริมาณสูง

ซึ่งในกลุ่มของโอเมก้า 3 นั้น มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 2 ชนิดที่สำคัญได้แก่..

1. กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid) หรือ DHA

2. กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid) หรือ EPA

ดีเอชเอ DHA และ การทำงานของ สมอง

แหล่งของ DHA และ EPA

  • ในธรรมชาติพบมากในปลาทะเล และสาหร่าย
  • โดย EPA จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (อ้างอิงที่ 1)
  • ขณะที่ DHA มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง
  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลงานวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า

สาร DHA ในน้ำมันปลามีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง

  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่แรกเกิดที่ต้องการ DHA ในปริมาณมากและเพียงพอ
  • เพื่อใช้ในการพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ในวัยผู้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 2)
  • DHA จะผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโต
  • ของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite)
  • ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน
  • ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำ (อ้างอิงที่ 3)
  • นอกจากนี้ DHA ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทตา
  • และระบบการทำงานของสายตาอีกด้วย (อ้างอิงที่ 2)

DHA ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความจำเสื่อม

  • ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มโรคความจำเสื่อม
  • โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมการเรียนรู้และความจำ
  • โรคนี้ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • และอัตราความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (อ้างอิงที่ 4)
  • โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  • ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดเซลล์สมองฝ่อเร็วกว่าคนทั่วไป (อ้างอิงที่ 5)

โรคอัลไซเมอร์ จะส่งผลให้เกิดความจำเสื่อม

  • การทำงานประสานของร่างกายลดลง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง หลงลืม สับสน
  • และไม่สามารถปฏิบัติงานที่เคยทำปกติได้ การมีเหตุผลจะลดลง
  • ที่สำคัญคือเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้(อ้างอิงที่ 4)
  • ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 33.9 ล้านคน
  • และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 เท่าในอีก 40 ปีข้างหน้า
  • สำหรับในประเทศไทยซึ่งมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งหมดประมาณ 8.3 ล้านคน
  • คาดว่าจะมีผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 8.3 แสนคน
  • และคาดการณ์ได้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะเป็นปัญหาทางสาธรณสุขที่รุนแรงขึ้นในอนาคต
  • ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรคเท่านั้น
  • ยังส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวอีกด้วย
  • ดังนั้น โรคอัลไซเมอร์จึงเป็นโรคที่น่ากังวลในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างมาก (อ้างอิงที่ 6)
  • หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมของ อะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta)
  • จนกลายเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques)
  • ซึ่งมีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท โดยจะทำลายสมดุลไอออน
  • ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีไขมันและโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
  • และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ Microglia ซึ่งเมื่อ Microglia
  • ถูกกระตุ้นจะทำให้เกิดการหลั่งสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เป็นพิษต่อ
  • ระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลาย (อ้างอิงที่ 4,7)

มีงานวิจัยสนับสนุนว่า

  • DHA ในน้ำมันปลาช่วยเพิ่มสารที่มีชื่อว่า LR11 โปรตีน
  • ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอะไมลอยด์ เบต้า (Amyloid Beta)
  • ที่จะรวมตัวเป็น อะไมลอยด์ พล๊าค (Amyloid Plaques)
  • หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (อ้างอิงที่ 8)
  • อีกงานวิจัยที่ทำการทดลองกับผู้สูงอายุ พบว่า การรับประทาน DHA วันละ 900 มก.
  • เป็นเวลา 6 เดือน สามารถเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
  • และการจดจำได้ดี (อ้างอิงที่ 9) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพิ่มเติมสนับสนุนว่า DHA
  • สามารถชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมประเภทอัลไซเมอร์ได้
  • โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ และมีความปลอดภัยสูง (อ้างอิงที่ 10)
  • รวมถึงงานวิจัยระบุว่าการที่ร่างกายได้รับ DHA
  • ที่ไม่เพียงพอจะมีแนวโน้มทำให้มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระ
  • เกิดปฏิกริยา lipid peroxidation ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (อ้างอิงที่ 11)

  • นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย โดยศึกษากับเด็ก อายุ 7-12 ปี
  • ที่มีอาการสมาธิสั้นพบว่า การเพิ่มขึ้นของดีเอชเอในเม็ดเลือดแดง
  • ส่งผลให้เด็กมีการอ่านคำที่ดีขึ้น การสะกดคำที่ดีขึ้น ความสนใจดีขึ้น
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติ ความกระสับกระส่าย และอาการสมาธิสั้นโดยรวมลดลง (อ้างอิงที่ 12)
  • และมีงานวิจัยในประเทศโอมาน ระบุว่าเด็ก ที่เป็นโรคออทิซึม หรือ ผู้ป่วยออทิสติก
  • จะมีระดับของ DHA ในเม็ดเลือดแดงต่ำเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 13)
  • ดังนั้นการรับประทานอาหาร หรือ อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ
  • กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA เป็นประจำ
  • จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
  • และผู้ป่วยออทิสติก นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  • และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง เพิ่มการเรียนรู้ และการจดจำได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลา 1000 มก. ชนิดแคปซูล  กิฟฟารีน

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 เม็ด ใน 1 แคปซูล มีน้ำมันปลา 1,000 มก.

ประกอบด้วย

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) 100 มก.
  • กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) 500 มก.

วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร

รหัสสินค้า 40117
ปริมาณสุทธิ : 30 แคปซูล
น้ำหนักรวม : 75 กรัม
จำนวน : 1 กระปุก

ราคา  620 บาท

———————————

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลา 1000 มก. ชนิดแคปซูล กิฟฟารีน

ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 เม็ด ใน 1 แคปซูล มีน้ำมันปลา 1,000 มก.

ประกอบด้วย

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) 100 มก.
  • กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) 500 มก.

วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร

รหัสสินค้า 40118
ปริมาณสุทธิ : 60 แคปซูล
น้ำหนักรวม : 110 กรัม
จำนวน : 1 กระปุก

ราคา  1,060  บาท

ทักมาค่ะส่งในราคาสมาชิก..

สามารถนำรหัสสมาชิก 37087100 ไปซื้อได้ที่ศูนย์ธุรกิจกิฟฟารีนทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Fanpage : Giffarine Easy
Email : thatsaya1968@gmail.com
โทร. 064-1860236 / Line id : @easygiff

สมัครสมาชิกกิฟฟารีนป้อนข้อมูลที่นี่ค่ะ

Facebook Comments
admin: